กรุงเทพฯ – 17 มิถุนายน 2567 – เคยป่วยหนักเข้าโรงพยาบาลเกือบเดือนเพราะโรคไข้เลือดออกมาแล้ว “แต้ว-ณฐพร เตมีรักษ์” เลยมาร่วมแชร์ประสบการณ์การป่วยหนักจากไข้เลือดออกในอดีต พร้อมแนะนำและเชิญทุกคนร่วมกันเฝ้าระวังและดูแลตัวเองจากโรคไข้เลือดออก ในงาน “วันไข้เลือดออกอาเซียน 2567” หรือ “ASEAN Dengue Day 2024” นำโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานคร บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด และเหล่าพันธมิตร โดยงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Dengue Heroes towards Zero Death” ร่วมกันเป็นเดงกี่ ฮีโร่ นำพาประเทศไทยสู่สังคมปลอดไข้เลือดออก

“แต้วเคยแอทมิทเข้าโรงพยาบาลรักษาตัวนานอยู่เกือบเดือนเลยค่ะ อาการตอนนั้นรุนแรงกว่าที่คิด ไข้ไม่ลดไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้เลย ถึงขั้นที่ต้องใช้น้ำแข็งเช็ดตัว ยังจำเหตุการณ์ตอนนั้นได้ดีเลยค่ะ คาดไม่ถึงเลยว่าเพียงยุงตัวเล็ก ๆ ก็สามารถทำให้เราป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ ในฐานะประชาชน แต้วคิดว่าการที่เรามีความตระหนักรู้ในเรื่องโรคและการป้องกันถือเป็นด่านแรกในการลดอัตราการเป็นโรคนี้ได้ การร่วมด้วยช่วยกัน บอกต่อและแชร์ความรู้ให้กับคนใกล้ตัวเป็นการเริ่มต้นที่ดี อาจเริ่มจากอะไรง่าย ๆ อย่าง พกยากันยุง ทำตามมาตรการ 5 ป. 1 ข. และ 3 ก. ได้แก่ 5 ป. ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติ เพื่อปราบยุงลาย 1 ข. ขัดทำความสะอาดภาชนะบรรจุน้ำ และ 3 ก. เก็บขยะ เก็บบ้าน เก็บน้ำ หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ที่ป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ และสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลได้ 80%-90%* แต้วก็อยากให้ทุกคนดูแลตัวเองแล้วก็ช่วยกันดูแลครอบครัวเพราะไข้เลือดออกเกิดขึ้นได้กับทุกคน เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคนี้ค่ะ” แต้ว-ณฐพร กล่าว

โดยในปี 2567 นี้กระทรวงสาธารณสุขได้คาดการณ์ยอดผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทยอาจพุ่งสูงขึ้น อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความชื้นมวลรวมเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนขึ้นของยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมในประเทศไทย ตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤษภาคม 2567[1] เข้าใกล้ 30,000 ราย มียอดผู้เสียชีวิต 29 ราย และคาดการณ์ว่าอาจสูงถึง 280 รายในปีนี้ เพิ่มสูงสุดในรอบ 5 ปี

*คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566


เกี่ยวกับทาเคดา ฟาร์มาซูติคอลส์

ทาเคดา มุ่งมั่นในการส่งมอบสุขภาพที่ดีกว่าและอนาคตที่สดใสให้แก่ผู้คนทั่วโลก ผ่านการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มโรค ระบบทางเดินอาหาร โรคหายาก ผลิตภัณฑ์จากพลาสม่า มะเร็งวิทยา ประสาทวิทยา และวัคซีน เรายังได้ทำงานผ่านความร่วมมือที่หลากหลายเพื่อนำเสนอทางเลือกใหม่ๆ ในการรักษา รวมทั้งพัฒนาการเข้าถึงการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในฐานะของบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ทาเคดา ตั้งมั่นในการทำงานเพื่อผู้ป่วย เพื่อพนักงาน และเพื่อโลกใบนี้ ซึ่งพนักงานของเราในในพื้นที่กว่า 80 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลกขับเคลื่อนการทำงานด้วยคุณค่าขององค์กรที่มีมามากกว่า 2 ศตวรรษ

เกี่ยวกับทาเคดา ประเทศไทย

ทาเคดา ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยเป็นสาขาลำดับที่สองภายใต้แผนขยายของทาเคดาทั่วโลก กลุ่มธุรกิจหลักของทาเคดา ประเทศไทย ประกอบด้วยนวัตกรรมที่มุ่งแสวงหาวิธีการรักษาที่สามารถเปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วย ภายใต้กลุ่มธุรกิจหลักได้แก่ โรคทางเดินอาหาร มะเร็งวิทยา โรคหายากและประสาทวิทยา ผลิตภัณฑ์จากพลาสม่า และวัคซีน

“ทาเคดาและโลโก้ทาเคดาเป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Takeda Pharmaceutical Company Limited”

ล่าสุด..